เมนู

วรรณนาปัญหาปุจฉกะ


พึงทราบการจำแนกอินทรีย์ แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะ ว่าเป็นกุศล
เป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั้น แหละ อนึ่ง ในอารัมมณติกะ
ทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ 7 เป็นอนารัมมณะ นั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์
โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ และปุริสินทรีย์
แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.
บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ 2 คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ 2
คือ สุขินทรีย์ และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ 2 นั้น เป็นปริตตารัมมณะ
โดยส่วนเดียว. คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา
มหคฺคตารมฺมณํ
(โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตา-
รัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ
แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และใน
เวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า นิวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ 9 แม้ปริตตา-
รัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด 5 มีสัทธินทรีย์เป็นต้น
จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วย
รูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.
คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ 8) ได้แก่ สุขินทรีย์
ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ เหล่านั้น
ไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.

บทว่า มคฺคเหตฺกํ (เป็นมรรคเหตุกะ) นี้ ตรัสไว้หมายเอาเหตุที่
เป็นสหชาตะ ในเวลาที่วิริยะหรือวิมังสาเป็นใหญ่ เป็นมัคคาธิปติ แต่ในเวลาที่
ฉันทะหรือจิตเป็นใหญ่ ก็เป็นนวัตตัพพธรรม.
คำว่า ทสินฺทฺริยา สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อุปฺปาทิโน (อินทรีย์
10 เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปาทีก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอารูป
อินทรีย์ 7 และวิปากอินทรีย์ 3 อินทรีย์ 10 ตรัสไว้ในหนหลังพร้อมทั้ง
โทมนัสสินทรีย์ ในอินทรีย์ 10 เหล่านั้น โทมนัสสินทรีย์ ในเวลาที่ปรารภ
บัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ อินทรีย์ที่เหลือ แม้ในเวลาที่พิจารณา
นิพพานก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
คำว่า ตีณินฺทฺริยานิ พหิทฺธารมฺมณานิ (อินทรีย์ 3 เป็น
พหิทธารัมมณะ) ได้แกุ อินทรีย์ 3 ที่เป็นโลกุตรินทรีย์.
บทว่า จติตาริ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ เพราะอินทรีย์ 4 เหล่านั้น ปรารภเป็นไปในอัชฌัตตธรรม
บ้าง ในพหิทธาธรรมบ้าง.
บทว่า อฏฺฐินฺทฺริยา (อินทรีย์ 8) ได้แก่ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อุเปกขินทรีย์ และอินทรีย์หมวด 5 มีศรัทธาเป็นต้น ในบรรดาอินทรีย์ 8
เหล่านั้น ความเป็นนวัตตัพพารัมมณะ พึงทราบในเวลาแห่งอากิญจัญญายตนะ.
ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ อินทรีย์ 10 เป็นกามาพจร อินทรีย์ 3 เป็น
โลกุตระ อินทรีย์ 9 เป็นอินทรีย์ระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ เป็นธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ปัญหาปุจฉกะแม้นี้ ก็เป็น
ปริจเฉทอย่างเดียวกับอภิธรรมภาชนีย์นั่นเอง ก็อินทริยวิภังค์นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว 2 ปริวรรค ด้วยประการฉะนี้.
วรรณนาอินทริยวิภังค์ จบ

6. ปัจจยาการวิภังค์


สุตตันตภาชนีย์


[255] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะ
ชาติเป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[256] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ?
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา
[257] ในปัจจยาการเหล่านั้น สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
เป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร